วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โทษของการผสมเทียม

ปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยได้นำเอาวิธีการผสมเทียมไปใช้ในการ ปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์กันอย่างกว้างขวาง แต่บางครั้งขาดการวางแผนการผสมพันธุ์ ที่ดีและขาดความระมัดระวัง อาจทำให้เกิดโทษได้ดังนี้
1.
ถ้าพ่อพันธุ์สัตว์ที่นำมารีดน้ำเชื้อเป็นพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะไม่ดี เนื่องจากไม่ได้ มีการทดสอบอย่างจริงจัง หรือเป็นพ่อพันธุ์ที่มีผลการทดสอบในด้านการให้ผลผลิต แต่ อาจมียีนของลักษณะอันตรายที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เช่น ไส้เลื่อน เลือดไม่แข็งตัว หัวพองน้ำ หรืออัมพาต แฝงอยู่ในตัวพ่อพันธุ์นั้น จะทำให้เกิดการแพร่กระจายพันธุ์ที่ไม่ดี หรือยีนเลวนั้นเข้าไปในฝูงสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว
2.
การผสมเทียมมักให้อัตราการผสมติดต่ำกว่าการผสมธรรมชาติ 5-10 เปอร์เซ็นต์และยิ่งต่ำลงไปอีกหากผู้ปฏิบัติขาดความชำนาญ
3.
การผสมเทียมหากปฏิบัติไม่ถูกต้องขาดความระมัดระวังหรือไม่สะอาด อาจ เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
4.
การสั่งน้ำเชื้อจากต่างประเทศ อาจนำเอาโรคทางพันธุกรรมหรือโรคระบาด เข้ามาแพร่กระจายภายในประเทศ AT 328 147 5. การลดจำนวนพ่อพันธุ์จากการใช้วิธีการผสมเทียม อาจทำให้เกิดการผสม พันธุ์แบบเลือดชิดขึ้นในชั่วต่อไปได้โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งการผสมเลือดชิดจะทำให้เกิดความ เสียหายได้

ประโยชน์ของการผสมเทียม

การผสมเทียมมีประโยชน์ดังนี้
1.
การผสมเทียมช่วยให้ยีนดีจากพ่อพันธุ์ดีแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ การปรับปรุงพันธุ์บรรลุจุดประสงค์ได้เร็วขึ้น เพราะการรีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่ดีแต่ละครั้ง สามารถนำมาเจือจางและแบ่งผสมให้กับแม่พันธุ์ได้ทีละหลาย ๆ ตัว เช่น พ่อพันธุ์สุกร 1 ตัว รีดน้ำเชื้อมาครั้งหนึ่งสามารถใช้ผสมให้แม่สุกรได้ 8-10 ตัว เป็นต้น
2.
การผสมเทียมช่วยทำให้สามารถลดจำนวนพ่อพันธุ์ที่ต้องเลี้ยง เพื่อใช้ในการ ผสมพันธุ์ ทำให้ลดปัญหาเกี่ยวกับการจัดการฟาร์มและช่วยประหยัดค่าอาหารได้อีกด้วย
3.
การผสมเทียมช่วยแก้ปัญหาด้านการผสมพันธุ์ เช่น ความไม่อยากผสมพันธุ์ (low libido) ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ (low fertility) นิสัยไม่ดีเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ หรือ ปัญหาเรื่องขาเสีย ขาอ่อน การผสมไม่ได้ของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ขนาดของพ่อและแม่พันธุ์ ที่ต่างกัน พ่อพันธุ์ที่อายุมาก เป็นต้น AT 328 145 AT 328 146
4.
ไกลกันโดยไม่ต้องทำการขนย้ายพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ให้เกิดความยุ่งยาก
การผสมเทียมช่วยให้สามารถผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่อยู่ห่าง
5.
ถ้าใช้วิธีการที่ถูกต้องและมีความระมัดระวัง สามารถควบคุมสุขภาพของสัตว์ได้เต็มที่
การผสมเทียมช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่เกิดจากการผสมพันธุ์
6.
พ่อพันธุ์ที่ดีเยี่ยมไว้ใช้เป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าพ่อพันธุ์ตัวนั้นอาจตายไปแล้ว
การผสมเทียมในรูปของการใช้น้ำเชื้อแช่แข็ง ทำให้สามารถเก็บน้ำเชื้อของ
7.
การผสมเทียมช่วยในการทดสอบลูก (progeny test) ของพ่อพันธุ์ได้รวดเร็ว และแม่นยำขึ้น ทำให้การคัดเลือกพ่อพันธุ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 8. การผสมเทียมช่วยลดการสั่งซื้อพ่อพันธุ์สัตว์ (จากต่างประเทศ) โดยการสั่ง น้ำเชื้อแทน เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในฟาร์ม ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า

อัตราการผสมติด

อัตราการผสมติด
(conception rate) หมายถึง สัดส่วนระหว่างจำนวนแม่สุกร ที่ถูกผสมติดหรือตั้งท้องกับจำนวนแม่สุกรที่ถูกผสมพันธุ์ ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการผสม ติดคือ
1.
ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร พ่อสุกรที่ไม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ จะทำให้ ขนาดครอกของลูกสุกรและอัตราการผสมติดของแม่สุกรต่ำด้วย AT 328 156 AT 328 157
2.
สภาพของแม่สุกร แม่สุกรที่ไม่อ้วน ไม่มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และมีความสมบูรณ์พันธุ์ จะมีอัตราการผสมติดสูง
3.
โรคที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์  เช่น โรคบรูเซลโลซีส โรคเเล็บโสไปโรซีส โรคพาร์โวไวรัส มดลูกอักเสบ เป็นต้น โรคเหล่านี้จะทำให้สุกรมีอัตราการผสมติดต่ำและ ขนาดครอกต่ำ 4. ปัจจัยอื่น แม่สุกรสาวมีอัตราการผสมติดต่ำกว่าแม่สุกรนาง ระยะเวลาที่ เหมาะสมในการผสมพันธุ์ จำนวนครั้งในการผสมพันธุ์ เป็นต้น

การผสมเทียมสุกร

ผสมเทียมสุกร

การฉีดน้ำเชื้อผสมเทียมสุกร

การฉีดน้ำเชื้อ (insemination) เข้าไปในอวัยวะเพศเมีย ก่อนทำการฉีดน้ำเชื้อ ควรทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วยน้ำให้สะอาด ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือเปิดแคม นอกของอวัยวะเพศเมียออก แล้วสอดอวัยวะเพศผู้เทียม (ภาพที่ 8.6) เข้าไปเอียงส่วน ปลายขึ้นข้างบนทำมุม 45 องศากับแนวนอน เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปใน ท่อปัสสาวะ เมื่อสอดอวัยวะเพศผู้เทียมผ่านพ้นท่อปัสสาวะเข้าไปแล้ว สอดเข้าไปอีกตาม แนวนอนจนถึงคอมดลูก จะรู้สึกสอดผ่านไม่สะดวก หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อให้เกลียว สว่านของอวัยวะเพศผู้เทียมเข้าไปล็อคอยู่ที่บริเวณคอมดลูก แต่ไม่ต้องให้เข้าไปถึงตัว มดลูก ซึ่งจะเป็นทำให้เกิดการติดเชื้อได้ จากนั้นรวบจับด้ามอวัยวะเพศผู้เทียมกับหางไว้ เพื่อป้องกันการหลุดเมื่อแม่สุกรเดิน ทำการต่อขวดน้ำเชื้อเข้ากับอวัยวะเพศผู้เทียม น้ำเชื้อที่เก็บไว้ในที่เย็นไม่จำเป็นต้องอุ่นก่อนฉีดผสม เพียงแต่เขย่าโดยการคว่ำขวด น้ำเชื้อเบา ๆ เพื่อให้ตัวอสุจิกระจายทั่วน้ำเชื้อ ทำการฉีดน้ำเชื้อเข้าไปช้า ๆ โดยบีบขวด บรรจุน้ำเชื้อเบา ๆ ถ้ามีน้ำเชื้อบางส่วนไหลกลับออกมาควรใช้มือกระตุ้นโดยลูบบริเวณ เต้านม ด้านข้างลำตัว และเขี่ยเบา ๆ เป็นระยะที่บริเวณปากช่องคลอด ซึ่งจะช่วยให้ น้ำเชื้อถูกดูดเข้ามดลูกจนหมด

ระยะเวลาที่เหมาะสมของการผสมเทียมสุกร

แม่สุกรเริ่มแสดงอาการเป็นสัดจะยอมรับการผสม สุกรสาวมีระยะเวลา
การฉีดน้ำเชื้อควรอยู่ในระยะเวลาที่อสุจิมีความสมบูรณ์พันธุ์ในการปฏิสนธิสูงสุด
1-2 วัน ส่วนแม่สุกรมีระยะเวลา 2-3 วัน ระยะตกไข่ของสุกรสาวและสุกรนางจะอยู่ใกล้ระยะสิ้นสุด ของระยะเป็นสัด (ระยะตกไข่ 30-60 ชั่วโมงหลังจากเริ่มต้นระยะเป็นสัด) (ภาพที่ 8.4) การผสมเทียมจึงควรเกิดขึ้นในระยะต้นของระยะเป็นสัด เพื่อให้อสุจิมีความสมบูรณ์พันธุ์ และพร้อมที่จะผสมกับไข่เมื่อไข่ตกลงมา เนื่องจากอสุจิจะมีชีวิตในอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ในระยะเวลาจำกัด (ประมาณ 24 ชั่วโมง) ส่วนน้ำเชื้อแช่แข็งจะมีชีวิตลดลงหลังจากเข้าไป ในอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย 6 ชั่วโมง การผสมเทียมจึงต้องไม่เร็วหรือช้าเกินไป ระยะฉีด น้ำเชื้อจึงควรให้เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ในอวัยวะเพศเมียได้ครอบคลุมระยะตกไข่ ถึงแม้ว่า จะทราบเวลาของการตกไข่หลังจากการเป็นสัดแต่อาจจะไม่ทราบเวลาเริ่มต้นการเป็นสัด (ภาพที่ 8.4 พื้นที่สีเข้ม) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดน้ำเชื้อสดหรือน้ำเชื้อแช่แข็ง เมื่อทำการผสมครั้งเดียวสำหรับสุกรสาวคือ 24-30 หรือ 29-36 ชั่วโมงหลังจากเริ่มต้นระยะเป็นสัด ตามลำดับ หรือสุกรนางคือ 28-36 หรือ 33-36 ชั่วโมงหลังจากเริ่มต้นระยะเป็นสัด ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดน้ำเชื้อสด 2 ครั้งสำหรับสุกรสาวคือ ครั้งที่ 1 12-24

การเก็บรักษาน้ำเชื้อที่เจือจางแล้ว

การเก็บรักษาน้ำเชื้อที่เจือจางแล้วมีอยู่
2 วิธีคือ
1.
การเก็บน้ำเชื้อสด (fresh หรือ liquid semen) ใส่น้ำเชื้อที่เจือจางแล้วลง ในภาชนะที่มีน้ำผสมน้ำแข็ง เพื่อค่อย ๆ ทำให้อุณหภูมิของน้ำเชื้อลดลงจนถึงอุณหภูมิ AT 328 151 AT 328 152
ในตู้เย็นเพื่อค่อย ๆ ทำให้เย็นลง น้ำเชื้อสดนี้เก็บได้ไม่นาน ถ้าเก็บไว้นาน
3-4 วันมีอัตรา การคลอด 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้ายิ่งเก็บนานวันขึ้นอัตราการผสมติดและอัตราการคลอดจะ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนผสมไม่ติดเลย ถ้าเก็บนาน 7-8 วัน เชื้ออสุจิจะตายหมด 2. การเก็บน้ำเชื้อแช่แข็ง (deep frozen semen) ขั้นตอนการทำคือ ค่อย ๆ ลดอุณหภูมิของน้ำเชื้อลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การทำให้อสุจิเข้มข้นโดยเครื่องเหวี่ยง (centrifugation) การเติมอาหารเลี้ยงเชื้อ (สารละลายน้ำเชื้อ) และกรีเซอรอล (กรีเซอรอล ป้องกันการเกิด cold shock) แล้วจึงทำให้น้ำเชื้อแข็งเป็นแบบเม็ด (pellets) นำเก็บในถัง ไนโตรเจนเหลว

การเจือจางน้ำเชื้อ

การเจือจางน้ำเชื้อ
เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้มากขึ้น เพื่อแบ่งผสมให้กับ สุกรแม่พันธุ์ได้หลายตัว ในกรณีที่หลังจากรีดเก็บน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์มาแล้ว ถ้าแม่พันธุ์ กำลังเป็นสัดพร้อมกันหลายตัว อาจนำน้ำเชื้อมาแบ่งฉีดให้กับแม่พันธุ์ได้เลย แต่ถ้าใน กรณีที่ต้องเก็บน้ำเชื้อไว้ผสมกับแม่พันธุ์ในภายหน้าจำเป็นต้องทำการปรับสภาพแวดล้อม
ภาพที่
กล้องจุลทรรศน์
8.2 การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรด้วย AT 328 150
เพื่อเป็นการถนอมและเพิ่มปริมาณของน้ำเชื้อที่ได้จากการหลั่งของพ่อพันธุ์แต่ละครั้ง ทำให้ สามารถนำไปผสมกับแม่พันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก น้ำเชื้อที่รีดได้แต่ละครั้งอาจนำมาเจือจาง ให้มีปริมาตร
สารละลายน้ำเชื้อ
30-250 เท่า ขึ้นอยู่กับจำนวนอสุจิที่มีอยู่ในน้ำเชื้อและความสมบูรณ์พันธุ์ ของเพศผู้ (diluter) ใช้น้ำธรรมดาไม่ได้ ต้องเป็นสารละลายที่มีคุณสมบัติ เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างที่เปลี่ยนไป เนื่องจากการเกิดกรดแลคติก รักษาแรงดันออสโมติคของสารละลายให้เหมาะสมและทำให้สารละลายมีสภาพของอีเล็คโทรไลท์สมดุล ป้องกันการเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากการทำให้เย็นหรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรค และเพิ่มปริมาณของน้ำเชื้อ โดยปกติน้ำเชื้อเจือจางควรมีปริมาตร 20-50 มิลลิลิตรและมีจำนวนอสุจิประมาณ 5 billion ตัว

การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อ

การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อ แบ่งได้
2 วิธีคือ
1.
การตรวจสอบด้วยตาเปล่า โดยจะทำการตรวจ
. ปริมาตรน้ำเชื้อ (volume) ปริมาณน้ำเชื้อที่รีดได้ครั้งหนึ่ง ๆ สามารถ บอกได้ถึงความเข้มข้นของตัวอสุจิต่อ 1 มิลลิลิตร ถ้ารีดได้ปริมาตรน้อยจะมีความเข้มข้น ของตัวอสุจิต่อ 1 มิลลิลิตรมากกว่าปริมาณน้ำเชื้อที่รีดได้มาก
. สี (colour) สีของน้ำเชื้อที่รีดได้สามารถบ่งบอกถึงความเข้มข้นของตัวอสุจิ ได้อย่างคราว ๆ ได้ สีของน้ำเชื้อจะมีสีขาวขุ่น มีความเข้มตั้งแต่สีคล้ายนมน้ำเหลือง น้ำซาวข้าว น้ำนม จนถึงใส น้ำเชื้อที่มีสีขุ่นแสดงว่ามีความเข้มข้นของอสุจิมาก แต่ถ้าสีจาง แสดงว่ามีความเข้มข้นของอสุจิน้อย
. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเชื้อจะบ่ง บอกถึงคุณภาพของน้ำเชื้อ โดยปกติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเชื้ออยู่ระหว่าง 7.1-7.8 ความผันแปรขึ้นอยู่กับการใช้น้ำตาลฟรุคโตสของตัวอสุจิในกระบวนการเมแทบอลิซึม ผล จะได้กรดแลคติก ซึ่งจะทำให้น้ำเชื้อมีสภาพเป็นกรด ทำให้คุณภาพของน้ำเชื้อไม่ดี
2.
การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยจะทำการตรวจ
. ความแข็งแรงในการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิ (motility) บ่งบอกถึง ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อพันธุ์ พ่อพันธุ์ตัวไหนที่มีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้าได้มาก และแข็งแรง จัดว่าพ่อพันธุ์ตัวนั้นมีน้ำเชื้อที่เหมาะสมที่จะนำมารีดเก็บไว้เพื่อเจือจางต่อไป
. ความเข้มของเชื้ออสุจิ (concentration) มีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับ ปริมาณของน้ำเชื้อ ความเข้มข้นของเชื้ออสุจิมีความจำเป็นในการคำนวณเพื่อการเจือจาง น้ำเชื้อ
คุณภาพของน้ำเชื้อว่าดีหรือไม่ โดยการย้อมสี
. ตัวเป็นและตัวตายของเชื้ออสุจิ (live-death sperm) ใช้ประเมิน . รูปร่างและความผิดปกติของตัวเชื้อ (abnormality) โดยการย้อมสี เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าน้ำเชื้อนั้นควรใช้หรือไม่ ในกรณีที่รีดน้ำเชื้อได้มากแต่เมื่อนำไป ผสมพันธุ์แล้วไม่ติด

ความถี่ของการรีดน้ำเชื้อ

การหลั่งน้ำเชื้อครั้งหนึ่ง ๆ จำนวนน้ำเชื้อของสุกร 150-250 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีความเข้มข้นของตัวอสุจิ 100 ล้านตัวต่อลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถนำไปผสมให้กับ สุกรแม่พันธุ์ 10-12 ตัว ถ้าหากสุกรพ่อพันธุ์ถูกรีดเก็บน้ำเชื้ออยู่บ่อย ๆ โดยไม่ได้พักผ่อน จะทำให้ความเข้มข้นของเชื้ออสุจิลดลงและจะพบเชื้ออสุจิที่ผิดปกติมากขึ้น ความถี่ของ การรีดเก็บน้ำเชื้อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ น้ำหนัก อาหาร สภาพแวดล้อม สุขภาพของพ่อพันธุ์ เป็นต้น โดยทั่วไปจะเก็บน้ำเชื้อสุกรพ่อพันธุ์ทุก ๆ 4 วัน อสุจิที่ถูก ปล่อยออกมาภายนอกร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้ 1-2 ชั่วโมง ถ้าอยู่ในอวัยวะสืบพันธุ์สุกรแม่ พันธุ์จะมีชีวิตอยู่ได้ 24-40 ชั่วโมง ตัวอสุจิมีขนาดเล็กมาก ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ส่วน หัว ส่วนคอ ส่วนกลาง และส่วนหาง ตัวอสุจิที่สร้างขึ้นมาจะเก็บไว้ในท่อเก็บพักอสุจิ

การรีดน้ำเชื้อสุกร

การเก็บน้ำเชื้อจากสุกรเพศผู้

น้ำเชื้อ
พันธุ์ร่วมกับเชื้ออสุจิจากอัณฑะ การเก็บน้ำเชื้อจากสุกรเพศผู้เป็นขั้นตอนแรกของการ ผสมเทียม น้ำเชื้อที่เก็บจะต้องมีคุณภาพดีและมีปริมาณมาก การตรวจสอบคุณภาพของ น้ำเชื้อและความถี่ในการเก็บน้ำเชื้อจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
การเก็บน้ำเชื้อจากสุกรเพศผู้ ในปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่
(semen) เป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงจากต่อมที่ช่วยในการสืบ 2 วิธีคือ
1.
2.
การใช้อวัยวะเพศเมียเทียม (artificial vagina, AV) การใช้มือบีบหรือนวดปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศผู้ (bare hand หรือ
glove hand method)
. การใช้อวัยวะเพศเมียเทียม
การใช้อวัยวะเพศเมียเทียมมีหลักการคือ ปรับอุณหภูมิให้เหมือนอุณหภูมิใน ช่องคลอดของสุกรเพศเมีย และมีแรงบีบรัดตัว
วิธีการใช้อวัยวะเพศเมียเทียม เตรียมน้ำอุ่นอุณหภูมิ
ต้องการเวลาปล่อยน้ำเชื้อนาน
(pressure) เหมือนแรงบีบรัดของมดลูก สัตว์ตัวเมีย โดยอวัยวะเพศเมียเทียมประกอบด้วย ท่อยางแข็งยาว 10-15 เซนติเมตร ตรงกลางจะมีที่ปั๊มลมติดอยู่ ชั้นในประกอบด้วย ท่อยางอ่อน 2 ชั้น โดยระหว่างท่อยาง อ่อนทั้ง 2 บรรจุน้ำอุ่นอุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส 40-45 องศาเซลเซียส ใส่ลงไประหว่างชั้นยางอ่อน แล้วใช้วาสลินทาผนังด้านในสุดของยางอ่อน เพื่อช่วยให้เกิด การหล่อลื่นอวัยวะเพศผู้จะได้สอดเข้าไปได้ง่าย หลังจากนั้นก็มีการบีบลูกยางปั๊มลมเข้า ไปเพื่อทำให้เกิดแรงดันที่ท่อยางอ่อนจนเห็นว่าช่องเล็กลงพอที่อวัยวะเพศผู้จะสอดเข้าไป ได้ก็หยุดปั๊ม เมื่ออวัยวะเพศของพ่อพันธุ์แข็งตัวและยื่นออกมาข้างนอกก็ใช้อวัยวะเพศ เมียเทียมสอดเข้าไป ถ้าท่อยางอ่อนหลวมเกินไปก็ปั๊มลมเข้าไปอีก เพื่อทำให้เกิดแรงบีบ กระชับดียิ่งขึ้นคล้ายกับช่องคลอดของตัวเมียจริง ๆ การเก็บน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์สุกรจะ 5-10 นาที น้ำเชื้อที่เก็บได้จะต้องนำไปเก็บโดยรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ การใช้อวัยวะเพศเมียเทียมสำหรับเก็บน้ำเชื้อนี้พบว่าจะมี แบคทีเรียปะปนมากับน้ำเชื้อมากจึงต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาด
. การใช้มือบีบหรือนวดอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ วิธีนี้นิยมทำในสุกร ก่อนที่จะรีดเก็บน้ำเชื้อควรจะอาบน้ำทำความสะอาดพ่อ สุกรก่อน โดยเฉพาะบริเวณถุงหุ้มอวัยวะเพศ นอกจากนั้นควรตัดขนที่ปลายถุงหุ้มออกให้ สั้น เพราะเวลาใช้มือจับอวัยวะเพศของพ่อพันธุ์จะได้ไม่ดึงขนออกมาด้วย ถ้าพ่อพันธุ์ถูก ดึงขนมันจะเจ็บและหดอวัยวะเพศของมันทันที ควรบีบน้ำปัสสาวะที่ค้างอยู่ที่ถุงหุ้มออก ให้หมด ล้างให้สะอาดแล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง เพื่อเป็นการลดแบคทีเรียที่จะปะปนไปกับ น้ำเชื้อ หลังจากนั้นนำพ่อพันธุ์มายังคอกรีดเก็บน้ำเชื้อ พ่อพันธุ์ที่ผ่านการฝึกมาแล้วเมื่อ มาถึงก็จะขึ้นหุ่นได้ทันที ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ปีนหุ่นและให้อวัยวะเพศแข็งตัวอยู่สักระยะ หนึ่งก่อน เพื่อให้พ่อพันธุ์เกิดความต้องการผสมเต็มที่ (libido) จะทำให้รีดเก็บน้ำเชื้อง่าย ใช้มือที่ถนัดจับโดยการคว่ำมือลงจะทำให้จับได้ถนัดและแน่น (บางคนอาจสวมถุงมือยาง) ในการจับครั้งแรกเอามือไปล็อคที่ปลายอวัยวะเพศของพ่อพันธุ์ แล้วบีบรัดให้แน่นที่สุด อย่าให้หลุด เมื่อปลายอวัยวะเพศถูกบีบรัดเหมือนแรงกดที่คอมดลูก พ่อพันธุ์ก็จะ พยายามยื่นอวัยวะเพศของมันออกมาจนสุดเห็นส่วนโคนอวัยวะเพศ หลังจากนั้นพ่อพันธุ์ จะหยุดเคลื่อนไหวยืนนิ่ง จึงคลายแรงบีบออกบ้างเล็กน้อยแต่อย่าให้อวัยวะเพศหลุด แล้ว ทำการกระตุ้นอวัยวะเพศโดยการเขี่ยที่ปลายอวัยวะเพศอย่างเบา ๆ ก็ได้ เมื่ออวัยวะเพศ ของพ่อพันธุ์อ่อนตัวลงจึงค่อยคลายมือออก นำภาชนะที่ใส่น้ำเชื้อที่รีดได้ใส่ลงในกระติก หรือกล่องโฟมปิดฝาให้มิดชิด

การคัดเลือกพ่อพันธุ์ สุกร

การคัดเลือกพ่อพันธุ์ (Selecting the Boar) จะต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะช่วงเวลาหนึ่ง ๆ พ่อพันธุ์จะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาก พ่อพันธุ์จะกระจายพันธุ์กรรมได้ดีกว่าแม่พันธุ์ การจะคัดเลือกไว้ต้องอาศัยหลักความสำคัญทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นประกอบอีก เช่น
  1. ความแข็งแรงของเท้าและข้อเท้าหลัง โดยเฉพาะเท้าหลังที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าขาหน้า ในเวลาการขึ้นผสมพันธุ์
  2. ขนาดของอัณฑะ รูปร่าง เป็นอย่างไร ขนาดของอัณฑะจะมีความสำคัญต่อการสร้างน้ำเชื้อ เลือกขนาดที่มีอัณฑะใหญ่ และทั้งสองข้างของอัณฑะให้มีขนาดใกล้เคียงกันแต่ส่วนมากข้างซ้ายจะใหญ่กว่าข้างขวาเล็กน้อย
  3. ความแข็งแรงของสันหลัง เลือกที่หลังตรงหรือโค้งเล็กน้อย(โค้งงอ)
  4. ความยาวของลำตัว ลำตัวสั้นจะขึ้นขี่เพศเมียยากจะเสียเปรียบตัวที่มีลำตัวยาว
  5. หัวนมบอดหรือหัวนมกลับ เพราะจะมีส่วนสำคัญต่อเพศเมียที่ใช้น้ำนมในการเลี้ยงลูกสำหรับที่นำลูกมาทำพันธุ์ เพราะลักษณะนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ ลักษณะนี้เป็นลักษณะย่อยที่ประกอบเข้ามา

ประวัติการผสมเทียมสุกร

การผสมเทียมทำกันมาตั้งแต่พ..1943 โดยชาวอียิปต์โบราณ (อารายัรต์) ทำการผสมเทียมม้า แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน จนกระทั่งพ..2442 นักวิทยาศาสตร์ชาว รัสเชียชื่อ E.I. Ivanov ทำการทดลองตามแบบแผนทางวิชาจนประสบผลสำเร็จ โดยการ รีดน้ำเชื้อม้าเพศผู้ นำมาทำให้เจือจาง แล้วฉีดให้ม้าเพศเมีย จนกระทั่งพ.. 2474 มีการ นำเอาวิธีการผสมเทียมมาใช้ในสัตว์เลี้ยงอย่างจริงจังขึ้นในหลายประเทศ การผสมเทียม ได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ สำหรับในประเทศไทยได้มีการผสมเทียมเป็นครั้งแรกในไก่เมื่อ พ..2482 และต่อมาพ..2503 จึงได้เริ่มใช้วิธีการผสมเทียมในโคนม

การผสมเทียม คือ

การผสมเทียม (artificial insemination, AI) หมายถึง การผสมพันธุ์โดยการ ฉีดเชื้ออสุจิของสัตว์ตัวผู้เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมีย เพื่อให้สัตว์ตัวเมียตั้งท้อง โดยไม่ต้องผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ