วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อ

การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อ แบ่งได้
2 วิธีคือ
1.
การตรวจสอบด้วยตาเปล่า โดยจะทำการตรวจ
. ปริมาตรน้ำเชื้อ (volume) ปริมาณน้ำเชื้อที่รีดได้ครั้งหนึ่ง ๆ สามารถ บอกได้ถึงความเข้มข้นของตัวอสุจิต่อ 1 มิลลิลิตร ถ้ารีดได้ปริมาตรน้อยจะมีความเข้มข้น ของตัวอสุจิต่อ 1 มิลลิลิตรมากกว่าปริมาณน้ำเชื้อที่รีดได้มาก
. สี (colour) สีของน้ำเชื้อที่รีดได้สามารถบ่งบอกถึงความเข้มข้นของตัวอสุจิ ได้อย่างคราว ๆ ได้ สีของน้ำเชื้อจะมีสีขาวขุ่น มีความเข้มตั้งแต่สีคล้ายนมน้ำเหลือง น้ำซาวข้าว น้ำนม จนถึงใส น้ำเชื้อที่มีสีขุ่นแสดงว่ามีความเข้มข้นของอสุจิมาก แต่ถ้าสีจาง แสดงว่ามีความเข้มข้นของอสุจิน้อย
. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเชื้อจะบ่ง บอกถึงคุณภาพของน้ำเชื้อ โดยปกติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเชื้ออยู่ระหว่าง 7.1-7.8 ความผันแปรขึ้นอยู่กับการใช้น้ำตาลฟรุคโตสของตัวอสุจิในกระบวนการเมแทบอลิซึม ผล จะได้กรดแลคติก ซึ่งจะทำให้น้ำเชื้อมีสภาพเป็นกรด ทำให้คุณภาพของน้ำเชื้อไม่ดี
2.
การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยจะทำการตรวจ
. ความแข็งแรงในการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิ (motility) บ่งบอกถึง ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อพันธุ์ พ่อพันธุ์ตัวไหนที่มีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้าได้มาก และแข็งแรง จัดว่าพ่อพันธุ์ตัวนั้นมีน้ำเชื้อที่เหมาะสมที่จะนำมารีดเก็บไว้เพื่อเจือจางต่อไป
. ความเข้มของเชื้ออสุจิ (concentration) มีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับ ปริมาณของน้ำเชื้อ ความเข้มข้นของเชื้ออสุจิมีความจำเป็นในการคำนวณเพื่อการเจือจาง น้ำเชื้อ
คุณภาพของน้ำเชื้อว่าดีหรือไม่ โดยการย้อมสี
. ตัวเป็นและตัวตายของเชื้ออสุจิ (live-death sperm) ใช้ประเมิน . รูปร่างและความผิดปกติของตัวเชื้อ (abnormality) โดยการย้อมสี เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าน้ำเชื้อนั้นควรใช้หรือไม่ ในกรณีที่รีดน้ำเชื้อได้มากแต่เมื่อนำไป ผสมพันธุ์แล้วไม่ติด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น